โครงการวิจัย
การศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานกุ้งก้ามกราม ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้าง ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมกุ้งก้ามกราม ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
ศึกษาและวิเคราะห์การเชื่อมโยงโซ่คุณค่าเพื่อกำหนดบทบาทการเป็นผู้ขับเคลื่อนโซ่อุปทาน หรือเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานกุ้งก้ามกราม ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

ออกแบบและพัฒนาสารสนเทศเพื่อการจัดการตัวชี้วัดประสิทธิภาพและความยั่งยืนของห่วงโซ่คุณค่ากุ้งก้ามกราม ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
พัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมกุ้งก้ามกราม ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการส่งเสริมประสิทธิภาพและความยั่งยืนของผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
บทนำ
กุ้งก้ามกรามเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สร้างรายได้หมุนเวียนในจังหวัดคิดเป็นมูลค่าทางการตลาดกว่า 779 ล้านบาท (ข้อมูล 20 ต.ค. 2566 สำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์) ผลการศึกษาทางวิชาการพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม จังหวัดกาฬสินธุ์มีผลตอบแทนจากการลงทุนในแต่ละรอบการผลิตที่ไม่แน่นอน ซึ่งเกิดจากหลายปัญหาต่าง ๆ เช่น เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์ที่ผันผวนของต้นทุนปัจจัยการผลิต ขาดแคลนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ดีมีคุณภาพและราคาสูง แรงงานหายากและค่าแรงสูง ตลาดผู้บริโภคภายในจังหวัดมีข้อจำกัดและมีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม โครงสร้างภาคอุตสาหกรรมกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่มีผลงานวิชาการที่อธิบายได้กระจ่างชัด อาจจะด้วยในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนและมีผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องจากต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำจำนวนมาก ในการศึกษาและวิเคราะห์ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมต้องได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม
คณะวิจัยเชื่อว่า การจัดการโซ่อุปทานกุ้งก้ามกรามที่มีประสิทธิภาพจะเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนของอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ การพัฒนาและปรับปรุงห่วงโซ่ให้เกิดคุณค่าในอุตสาหกรรมกุ้งก้ามกรามจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันควบคู่กับการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการ และส่วนงานส่งเสริมภาครัฐต่าง ๆ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานกุ้งก้ามกรามในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ถูกพัฒนาขึ้นด้วยกระบวนการออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลผู้ประกอบการ ระบบ Infrastructure การสร้าง Open data และ Data Exchange Platform เพื่อจะช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการห่วงโซ่อุปทานและเพิ่มห่วงโซ่คุณค่าในอุตสาหกรรมกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์ สร้างระบบนิเวศทางธุรกิจผ่านการบูรณาการความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
ทีมนักวิจัย
โครงการการศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานกุ้งก้ามกราม ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา พุฒิกูลสาคร
หัวหน้าโครงการE-mail: anucha.pu@ksu.ac.th

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กีรวิชญ์ เพชรจุล
ผู้ร่วมวิจัยE-mail: pkeravit@yahoo.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปาลวี พุฒิกูลสาคร
ผู้ร่วมวิจัยE-mail: palawee_g@hotmail.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุขสันต์ พรมบุญเรือง
ผู้ร่วมวิจัยE-mail: suksun.pr@ksu.ac.th
เกี่ยวกับทีมนักวิจัย
ทีมนักวิจัยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาต่างๆ ทั้งด้านการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเกษตร มุ่งมั่นในการพัฒนาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์อย่างยั่งยืน

หน่วยงานพันธมิตร
ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งก้ามกรามอย่างยั่งยืน
ข้อมูลข่าวสาร
ติดตามความเคลื่อนไหวและข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์

การทดสอบและประเเมิน การใช้งานแอปพลิเคชันการบันทึกบัญชีฟาร์มกุ้งก้ามกราม
เรียนรู้วิธีการใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับการบันทึกบัญชีฟาร์มกุ้งก้ามกรามอย่างมีประสิทธิภาพ
รับชมวิดีโอ
คู่มือ การลงทะเบียนในระบบสารสนเทศกุ้งก้ามกราม
วิดีโอแนะนำขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบสารสนเทศกุ้งก้ามกราม อย่างละเอียด
รับชมวิดีโอติดต่อเรา
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่าง
ข้อมูลการติดต่อ
ที่อยู่
คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
อีเมล
anucha.puttikunsakon@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์
066-145-4519
โครงการวิจัยสารสนเทศเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานกุ้งก้ามกราม จ.กาฬสินธุ์
